วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บทที่ 7 กฎหมายในชีวิตประจำวัน

๑.กฎหมาย
๑.๑ ความหมายของกฎหมาย
ความหมายของกฎหมายนั้น ได้มีนักปรัชญาและนักกฎหมายให้คำนิยามไว้ต่างกันดังตัวอย่าง เช่น
          จอห์น ออสติน (John Austin) ปรัชญาเมธีทางกฎหมายชาวอังกฤษ อธิบายว่า กฎหมาย คือ คำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์  ซึ่งบังคับใช้กับกฎหมายทั้งหลาย  ถ้าผู้ใดไม่ปฎิบัติตาม โดยปกติแล้ว ผู้นั้นต้องรับโทษ
          หลวงจำรูญเนติศาสตร์ อธิบายว่า กฎหมาย คือ กฎข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้น และบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม

          ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย นักกฎหมาย อธิบายว่า กฎหมาย ต้องแยกออกเป็นกฎหมายตามเนื้อความและกฎหมายตามแบบพิธีเสียก่อน จึงจะสามารถอธิบายความหมายของกฎหมายได้ถูกต้อง  โดอ่านเพิ่มเติม

Image result for กฎหมาย

บทที่ 6รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ความเป็นมาและความสำคัญ

ประเทศเกือบทั้งหมดในโลกย่อมต้องมีรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นเครื่องกำหนดรูปแบบในการปกครองประเทศ ไม่ว่าประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย สังคมนิยม หรือแบบคอมมิวนิสต์ ต่างมีรัฐธรรมนูญตามแบบฉบับของประเทศตนเองทั้งสิ้น สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร ประเทศไทยเคยมีทั้งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่จัดทำขึ้นในขณะที่บ้าน เมืองอยู่ในภาวะไม่สงบ หรือหลังจากมีการปฏิบัติรัฐประหารและรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยรวมทั้งสองประเภทแล้ว ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ ฉบับปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 อ่านเพิ่มเติม

Image result for รัฐธรรมนูญ

บทที่5 ระบอบการเมืองการปกครอง

ลักษณะการเมืองการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย
คือ ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่องกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย การยื่นถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ การแสดงความคิดในการทำประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำประชามติ
          ระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนมากในประเทศให้เป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของประเทศตามนโยบายที่กลุ่มหรือพรรคนั้นได้วางไว้ล่วงหน้า ลักษณะเด่นดังกล่าวนี้จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปถ้ากลุ่มหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นหลักในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองการปกครอง

บทที่4 สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน
ความหมายของสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน(Human Rights) หมายถึง สิทธิของความเป็นมนุษย์ ในอดีตยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนภายหลังที่ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติแล้ว คำว่า สิทธิมนุษยชน จึงได้ถูกนำมาใช้อย่าง อ่านเพิ่มเติม

บทที่3 การเป็นพลเมืองดีของชาติและสังคมโลก

สาระการเรียนรู้
1.การเคารพกฎหมายและกติกาสังคม
2.การเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและบุคลอื่น
3.การมีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.การมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก
5.การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง
6.การมีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม
 การเมืองการปกครอง และสิ่งแวดล้อม
7.การมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
แนวคิดหลัก  คุณลักษณะพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลกที่สำคัญคือ
 การเคารพกฎอ่านเพิ่มเติม

บทที่2 เรียนรู้วัฒนธรรม

สาระการเรียนรู้
1.ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรม
2.ลักษณะและความสำคัญของวัฒนธรรมไทย
3.การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและแนวทางอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ดีงาม
4.ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล
5.วิธีการเลือกรับวัฒนธรรมสากล
ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรม
ความหมายของวัฒนธรรม
         วัฒนธรรม หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นในแต่ละสังคม ซึ่งแต่ละสังคมจะต้องมีวัฒนธรรมที่แตกต่ อ่านเพิ่มเติม
Image result for วัฒนธรรม หมายถึง

บทที่1 สังคมมนุษย์

มนุษย์กับสังคม

    ประเภทของสัตว์ทางสังคมวิทยา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

                1. สัตว์สังคม เป็นสัตว์ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันและกัน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ ช้าง เป็นต้น
                2. สัตว์โลก เป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตตามลำพังได้โดยไม่ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก็ได้ เช่น จระเข้ แมว สุนัข แรด เป็นต้น

   มนุษย์จัดเป็นสัตว์สังคมจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีลักษณะพิเศษเหนือกว่าสัตว์อื่น ๆ เพราะมีลักษณะดังนี้ 
                1. อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
                2. มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
                3. มีความสัมพันธ์กันทางสังคม
                4. มีการจัดระเบียบทางสังคม อ่านเพิ่มเติม